วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เล่าเรื่องย่อ...ประวัติ จังหวัดนครพนม



     

       จังหวัดนครพนม  เป็นจังหวัดที่มีเขตติดแขวงคำม่วน   และมีแม่น้ำโขงกั้นไว้ระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว โดยใช้สะพานข้ามกันระหว่าง 3 ประเทศ คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3    บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม  ฝั่งลาวอยู่ที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน  มีพื้นที่ของจังหวัดนครพนมที่ไม่ใหญ่มาก  ตั้งแต่อดีตกาลพื้นที่ตรงนี้ได้เป็นพื้นที่รุ่งเรืองด้านอารยธรรมอย่างมาก  เราได้เรียกอารยธรรมนี้ว่า “อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์”  ศูนย์กลางของอาณาจักรจะอยู่ในอำเภอธาตุพนม ณ บัจจุบัน  ซึ่งได้มีการเล่าขาน เกี่ยวกับ อุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้ง ที่ ป่าไม้รวกมีนามว่า เมืองมรุกขนคร ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก
         ต่อมา ประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม  เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนา ได้บูรณะหรือสร้างพระธาตุพนมขึ้นครั้งแรก เป็นพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 มีรอบกำแพง  ได้ฉลองสมโภช พระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์ จนพญาสุมิตรธรรมเกิดความปิติโสมนัสมาก กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่ น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับ ซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น